เติมน้ำยาแอร์ เช็คน้ำยาแอร์ แอร์บ้าน แอร์สำนักงาน ช่างแอร์ ช่างแอร์บ้าน แอร์สำนักงาน

เช็คน้ำยาแอร์ เช็คน้ำยาแอร์บ้าน บริการเช็คน้ำยาแอร์ เติมน้ำยาแอร์ ทั้งแอร์บ้าน แอร์สำนักงาน โดยช่างแอร์


บริการงาน เช็คน้ำยาแอร์ เติมน้ำยาแอร์ เช็คน้ำยาแอร์บ้าน เติมน้ำยาแอร์บ้าน เติมน้ำยาแอร์สำนักงาน โดย ทีมงานช่างมืออาชีพ รับบริการ เช็คน้ำยาแอร์ เติมน้ำยาแอร์ ทุกยี่ห้อ

คนทั่วไปหรือผู้ที่ใช้งานแอร์ มักมีคำถามว่า เมื่อใหร่ถึงควรจะเติมน้ำยาแอร์ คำตอบคือ เมื่อเปิดแอร์แล้ว แอร์ไม่มีความเย็นออกมา ซึ่งอาจจะเกิดจากหลายๆสาเหตุ เช่น ระบบท่อน้ำยาแอร์ รั่ว ซึม น้ำยาในระบบพร่อง มีไม่เพียงพอ เนื่องจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เครื่องน็อคได้ การตรวจเช็คน้ำยาแอร์นั้น ควรเรียกช่างแอร์ ที่มีความชำนาญงาน มาทำการตรวจสอบ เพราะต้องใช้เครื่องมือ สำหรับวัดแรงดันน้ำยาแอร์ในระบบ

ความรู้เกี่ยวกับสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ
น้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็น (Refrigerant) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบเครื่องทำความเย็น และระบบเครื่องปรับอากาศ โดยที่สารทำความเย็นจะเปรียบเสมือนตัวกลางสำหรับถ่ายเทความร้อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง สารทำความเย็น ในระบบเครื่องปรับอากาศ รวมไปถึงสารทำความเย็นในเครื่องทำความเย็นทั่วๆ ไปจะมีแรงดันมากกว่าแรงดันบรรยากาศหลายเท่า เมื่อรั่วออกมาจะเดือดและระเหยเป็นไอทันที ทำให้ต้องอยู่ในระบบปิดหรือถังบรรจุที่ปิดผนึกมิดชิด อีกทั้งมันยังเป็นสสารที่สามารถอยู่ได้ทั้งในรูปของแก๊สและของเหลว ขึ้นกับความดันและอุณหภูมิ แรงดันของสารทำความเย็นในระบบโดยประมาณ การจะตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็นในภายหลังการติดตั้ง ว่ายังคงมีสารทำความเย็นอยู่เพียงพอหรือไม่ วิธีที่ให้ค่าออกมาแน่นอนและนิยมทำกันมากสุดคือการต่อเกจเมนิโฟลด์ เพื่อวัดค่าแรงดันของสารทำความเย็นในระบบ ซึ่งทั่วไปแล้วถ้าเป็นการวัดเพื่อตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น จะวัดแค่เพียงที่วาล์วลูกศรด้านท่อทางดูด(ท่อใหญ่) ซึ่งท่อนี้จะเป็นท่อของสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะแก๊ส และเป็นท่อด้านที่มีแรงดันต่ำขณะเดินเครื่อง ส่วนท่ออีกด้านหนึ่งจะเป็นท่อทางอัด(ท่อเล็ก) มีสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวแรงดันสูงมากไหลอยู่ เราจึงไม่สามารถต่อเกจเมนิโฟลด์เข้าไปในขนะที่เครืองทำงานอยู่ได้ เพราะแรงดันที่สูงอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ ในกรณีแอร์ขนาดไม่ใหญ่มากท่อด้านนี้จึงไม่ค่อยจะได้ต่อใช้งานสักเท่าไหร่ ผู้ผลิตจึงเลือกที่จะไม่ใส่วาล์วลูกศรให้กับท่อทางอัด ของแอร์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนั่นเอง
น้ำยา R22 ขณะเครื่องทำงาน 68 – 75 PISG(เช็คกระแสไฟเป็นหลัก)
น้ำยา R410 ขณะเครื่องทำงาน 130 – 160 PISG(เช็คกระแสไฟเป็นหลัก)
น้ำยา R32 ขณะเครื่องทำงาน 150 – 180 PISG(เช็คกระแสไฟเป็นหลัก)
*ค่าแรงดันเองในบางครั้งก็อาจจะมีการคาดเคลื่อนอยู่บ้างปัจจัยที่ทำให้ค่าแรงดันที่วัดได้มีความคลาดเคลื่อนก็มีอยู่หลายๆปัจจัย เช่น
- อุณหภูมิแวดล้อมบริเวณที่ติดตั้งคอยล์ร้อน อุณหภูมิสูง = แรงดันสูง , อุณหภูมิต่ำ= แรงดันต่ำ
- แรงดันสูงเพราะคอยล์ร้อนสกปรก ลมไม่สามารถผ่านได้เท่าทีควร
- แรงดันสูงเพราะพัดลมของชุด คอยล์ร้อนมีรอบความเร็วที่ลดลงจากเดิม

น้ำยาแอร์ขาดได้หรือไม่ มาอ่านกัน
ประเด็นที่เกี่ยวกับช่างมาเติมน้ำยาแอร์ แล้วบอกว่า "ระบบแอร์เป็นระบบปิด ถ้าน้ำยารั่ว ไม่ว่ารอยรั่วจะเล็กหรือใหญ่ น้ำยาจะหายไปทันที จนหมดทั้งระบบ หรือน้ำยาแอร์ ไม่มีวันหมด เพราะเป็นระบบใช้หมุนเวียน" กรณีที่น้ำยาแอร์ขาดหายไป จากระบบแต่ไม่ได้รั่วออกหมด เช่น ขาดหายไปจนแรงดันลดลงกว่าค่ามาตรฐาน 20-30 PSIG สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ว่ามันจะเกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ต้องทำความเข้าใจ ให้ดีก่อนที่จะเชื่ออะไรไป เนื่องจากสารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ ที่อยู่ภายในระบบนั้น มีแรงดันสูง กว่าค่าแรงดันบรรยากาศ หลายเท่า ทำให้มันพยายาม ที่จะหาทางออก เพื่อเล็ดลอดออกไปจากระบบ ตลอดเวลา และระบบท่อ ของเครื่องปรับอากาศในปัจจุบัน จุดต่อระหว่างท่อที่เชื่อมต่อกันระหว่างส่วน คอยล์ร้อน ไปยังส่วน คอยล์เย็น ก็ใช้การบานปลายท่อ แล้วสวมด้วย ข้อต่อแฟร์นัทขันเกลียว ไม่ได้เป็นการเชื่อม บัคกรีท่อโลหะ ให้ติดกันด้วยความร้อน เหมือนจุดต่อในส่วนอื่นๆ และรวมถึงจุดที่ท่อบริการ (Service Valve) ตรงบริเวณด้านท่อทางอัด(ท่อใหญ่) ก็มีการติดตั้งจุดที่เรียกว่า วาล์วบริการสำหรับใช้ต่อสายเกจน้ำยาแอร์ ส่วนนี้จะใช้วาล์วลูกศรใส่เข้าไป โดยที่วาล์วลูกศร ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับ จุกลมของยางล้อรถนั่นเอง ในวาล์วลูกศรนี้ ก็จะมีซีลยางที่เรียกว่ายางโอริงอยู่ และเมื่อยางโอริงนี้ต้องมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบแอร์ ทำให้มันต้องพบเจอกับสภาวะที่เย็นจัดในขณะเดินเครื่อง เมื่อใช้ไปนานๆยางโอริงก็อาจจะมีการเสื่อมสภาพลงไปตามการใช้งาน บางครั้ง ที่เราไม่ได้ใช้งานแอร์นานๆ ด้านท่อทางดูด ที่ยางโอริงอยู่จะไม่มีแรงดันต่ำ เหมือนตอนเครื่องเดิน แต่แรงดันจะเท่ากันทั้งสองท่อ ซึ่งเมื่อสภาพเหมาะสม ก็ทำให้แรงดันเล็ดรอดออกไปได้ รวมไปถึงในบางครั้งที่แอร์ ไม่ได้ล้างมานาน แผงคอยล์ร้อน สกปรกมาก แอร์ระบายความร้อน ได้ไม่ดีในช่วงที่อากาศร้อนๆ ส่งผลให้แรงดันสูงเกินไป จนในบางครั้ง ก็อาจทำให้น้ำยาเล็ดลอดออกไป ตามจุดต่อต่างๆหรือที่ยางโอริ่ง ก็เป็นไปได้ และยังรวมไปถึง ในส่วนของรอยเชื่อม แต่ละจุดเอง ก็เป็นอีกสาเหตุ ของการซึมออกไปทีละน้อยๆ เพราะในรอยเชื่อมบางจุด อาจจะเกิดรูพรุน หรือโพรงขนาดเล็กมากๆ ที่เรียกกันว่ารู ตามด จุดนี้ก็มีส่วนที่ ทำให้น้ำยาซึม หายไปจากระบบได้เอง เมื่อสภาพโดยรวม เอื้ออำนวย การรั่วกับการซึม ไม่เหมือนกันการรั่ว คือรั่วออกไปอย่าง ต่อเนื่องจนหมด แต่การซึมคือ การเล็ดลอดออกไปทีละนิดเมื่อสภาพ โดยรอบนั้นเอื้ออำนวย สามารถเกิดขึ้นไ ด้จากหลายๆปัจจัย เพราะน้ำยาแอร์ เองก็เป็นสสารที่อยู่ ภายใต้ความกดดันสูง ย่อมที่จะหาหนทางออกมา สู่บรรยากาศได้ตลอดเวลา แต่ก็ใช่ว่าน้ำยาแอร์ จะต้องซึมหายออก จากระบบเสมอไป มีแอร์หลายๆเครื่อง ที่มีน้ำยาเต็มระบบ ไม่ต้องเติมเพิ่มเลยตลอด อายุการใช้งานทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับคุณภาพและรูปแบบการติดตั้ง รวมไปถึงลักษณะการใช้งาน การบำรุงรักษาด้วย ดังนั้น ช่างแอร์ ของเรา มีความชำนาญงาน ในการวัดค่าแรงดันของน้ำยาแอร์ หากท่านพบปัญหาแอร์ไม่เย็น หรือเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับ น้ำยาแอร์ สามารถปรึกษา หรือเรียกใช้บริการ ทีมงานช่างแอร์ ของเราได้

บริการงาน เช็คน้ำยาแอร์ เติมน้ำยาแอร์ เช็คน้ำยาแอร์บ้าน เติมน้ำยาแอร์บ้าน เติมน้ำยาแอร์สำนักงาน โดย ทีมงานช่างมืออาชีพ รับบริการ เช็คน้ำยาแอร์ เติมน้ำยาแอร์ ทุกยี่ห้อ
ติดต่อเราได้ที่ โทร. 085-0252102,

ทีมงาน พีแอนด์เอ แอร์ เซอร์วิส P&A air service บริการงานแอร์ด้วยความจริงใจ

บริการของเรา

Visitors: 127,849